หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


รับสมัครเข้าชมรม”ผู้ร่วมสร้างเงินล้าน” จำนวน 9 คนครับ
คุณสมบัติผู้สมัคร
1. ไม่จำกัดเพศ อายุ การศึกษา ขอให้เป็นคน
2. ทำงานเป็นทีมได้
3. มีความคิดแบบ win-win
4.ฯลฯ(หลังจากรวมตัวกันได้)
 ปัจจุบันผมเป็นคนหนึ่งที่ต้องการหารายได้เงินล้าน ลองพิมพ์ลงใน Google ถ้าไม่เจอขายตรง ก็ไปเจองานออนไลน์ที่มีแค่คนที่ลง post ได้ประโยชน์และเงิน
  ผมลองคิดว่าอะไรคือประเด็น สรุปเอาเองว่า เพราะเราตัวคนเดียว และมีขีดจำกัดหลายๆอย่าง เช่น เงิน ความคิด ประสบการณ์ สิ่งแวดล้อม ถ้ามีคนมารวมตัวกันล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น ทุนจะมากขึ้น ความคิดจะหลากหลาย จะเกิดมิติในการหารายได้แบบก้าวกระโดด หรือแม้กระทั่งรวมตัวกันขายตรงบ้าบอก็มีสิทธิ์มีรายได้สูงครับ
ความคาดหวัง กับสิ่งที่ได้ คือ
1.มีเพื่อนร่วมแนวคิดเพิ่มขึ้น
2.ได้แลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ และประสบการณ์กัน
3.แน่นอนครับรายได้ที่เพิ่มเป็นหลักล้าน
ผมจึงอยากรวบรวมผู้ที่สนใจ พูดคุยกันในแนวทาง และวิธีการต่างๆที่ทำให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ถ้ามีใครมีความคิดเดียวกัน คล้ายกัน ติดต่อพูดคุยกันก่อนได้ที่
Tel.ตอนนี้ทำงานอยู่ที่สัญญาณโทรยากมากติดต่อทางเมล์ก่อนนะครับเดี๋ยวบอกสาเหตุ

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

หนังสือซี่รี่ บริหาร "Outlearning the Wolves"

ชื่อหนังสือ "Outlearning the Wolves" ฉลาดเกินหน้าหมาป่า

ผู้เขียน David Hutchen

ผู้แนะนำให้ผมอ่าน อาจารย์ภิญโญ รัตนาพันธุ์


การอยู่รอด และเติบโตในองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)


















      เป็นการ์ตูนเปรียบเทียบจำลองเหตุการณ์ระหว่างหมาป่า และแกะ เรื่องราวคร่าวๆก็จะเป็นหมาป่าเข้ามาลักพาตัวแกะไปซักผ้าให้ ซ่ะที่ไหนครับ แน่นอนครับเอาไปกิน แกะซึ่งประสบปัญหานี้ก็ไม่รู้ว่าจะแก้ยังไง ก็เลยตามเลย ในที่สุดตัวเอกก็ทนไม่ไหว(อีกแล้ว ไม่รู้ว่าเป็นตัวเดิมของเล่มที่แล้วแปลงร่างมารึเปล่า แต่ผมว่าน่าจะเป็นคุณ David นี่แหละ) ซึ่งชื่อว่าอ๊อตโต้ ได้แสดงวิสัยทัศน์ตัวเองการฝูงอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย ว่า "ฉันฝันว่าสักวันจะไม่มีแกะตัวใดต้องตาย เพื่อเป็นอาหารหมาป่า" "พวกเราต้องเป็นฝูงแกะแห่งการเรียนรู้" วันถัดมาอ๊อตโต้ก็หายตัวไป (โดนหมาคาบไปกิน ซึ่งอาจจะโดนใจวัยรุ่นหลายคนที่ไม่กล้าบอกว่าชอบ จนเป็นเหมือนตัวเอกนี้) จาการหายตัวไปของอ๊อตโต้ ทำให้แกะในฝูงต่างเห็นความสำคัญที่ต้องมีการเรียนรู้ให้มากขึ้น แต่ละตัวในฝูงเริ่มนำข้อมูลมาพูดคุยกัน และได้ออกเดินสำรวจตามความคิดเห็นของแกะตัวหนึ่ง จนกระทั่งพบขนของแกะที่ติดกับรั้วตรงบริเวณที่น้ำไหลผ่าน ทำให้รู้ว่าลอดรั้วเข้ามาตรงที่พบขนแกะ ในเวลาที่น้ำไหลน้อย พวกแกะจึงช่วยกันนำหินมาเปลี่ยนทางน้ำเป็นสระใต้รั้วให้มีน้ำมากตลอดเวลา หลังจากนั้นหมาป่าก็ไม่ได้มากินแกะอีก จบครับ
       โดยความเห็นส่วนตัวครับ ผมมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เรียบง่าย พวกเราคิด แลกเปลี่ยน เรียนรู้ และก็แก้ปัญหาได้ จบ แต่ถ้าผมชี้นำให้มองลึกกว่านั้น เราอาจจะต้องเผชิญกับปัญหาครั้งใหม่ ที่อาจจะใหญ่กว่าเดิม เป็นปัญหาที่ไม่ได้แก้ง่ายๆเหมือนเรื่องของหมาป่า ถ้าให้เห็นภาพมากกว่านี้ เราลองจินตนาการย้อนไป 100 ปีที่แล้ว และจะต้องแก้ปัญหาที่ว่า เราจะเชื่อมโลก หรือติดต่อสื่อสารกันภายใน 1 นาทีได้อย่างไร ซึ่งสิ่งนี้พิสูจน์แล้วว่า เราต้องใช้เวลาเป็น 100 ปีในกระบวนการสั่งสมความรู้  จากส่งสาร์นด้วยนก การโทรเลข โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ จนกระทั่งเป็นอินเตอร์เน็ต กระบานการเหล่านี้ต้องผ่านขั้นตอน วิธีการ อัจฉริยะบุคคล และโชค กว่าจะได้มา แต่ ณ ปัจจุบันเราสามารถย่นเวลาในการแก้ปัญหา หรือสร้างสรรค์สิ่งที่สุดยอดได้ ซึ่งก็คือ องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ที่จะนำพาเราไปพบสิ่งใหม่ๆ ความเป็นไปได้ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งใช้คำว่าองค์กรต้องมีมากกว่า 1 ครับ เราต้องทำงานเป็นทีม ซึ่งเราต้องมีพื้นฐาน หรือความเป็นเลิศส่วนบุคคลก่อน ถ้าได้อ่านซี่รี่ก่อนหน้านี้เราก็จะรู้วิธีปฏิบัติแล้ว เมื่อเริ่มมีความเป็นเลิศส่วนบุคคล (Personal Mastery) จะมีแรงดึงดูดให้คนแบบเดียวกันมาพบกัน เราก็จะได้เป็นส่วนหนึ่งในองค์กรแห่งการเรียนรู้ และจะสามารถทำทุกฝันให้เป็นจริงได้ เล่มหน้าพบกับเล่มสุดท้ายของซี่รี่บริหารครับผม

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

หนังสือซี่รี่การบริหาร จัดการ "Shadow of the Neanderthal"

ชื่อเรื่อง "Shadow of the Neanderthal " เงาแห่งยุคหิน

ผู้เขียน David Hutchen

แนะนำให้ผมอ่านโดยอาจารย์ภิญโญ รัตนาพันธุ์


การให้ความกระจ่างแก่ความเชื่อที่จำกัดองค์กรของเรา (Mental Model)


















เป็นการ์ตูนจำลองเหตุการณ์มนุษย์ยุคหินที่อาศัยอยู่ในถ้ำ ซึ่งไม่เคยออกมาจากนอกถ้ำเลย และแน่นอนต้องมีตัวละครที่แปลกไว้ดำเนินเรื่องในที่นี้ คือ บูกี เป็นมนุษย์ถ้ำอาศัยร่วมกับเพื่อน แต่แล้ววันหนึ่งบูกี ก็ถามคำถามที่ว่า "ถ้าเราออกไปออกถ้ำจะเกิดอะไรขึ้น" แค่นั้นล่ะครับได้ออกไปจริงๆ เพราะเพื่อนๆไม่พอใจที่บูกีตั้งคำถามกระทบต่อวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ และความเชื่อที่มีกันมานาน หลังจากบูกีออกจากถ้ำ เค้าก็ได้เห็นโลกที่ไม่เคยเห็นมาก่อน จนได้พบกับปัญหาที่แท้จริง คือแต่ก่อนมนุษย์อาศัยนอกถ้ำ และได้แบ่งกลุ่มกัน 2 กลุ่มไปหาอาหาร กลุ่มหนึ่งออกไปสำรวจพื้นที่ต้องการทำหอก อีกกลุ่มสำรวจแล้วต้องการทำตะกร้า และทั้งสองกลุ่มก็ทะเลาะกัน และขับไล่กันเองจนต้องไปอาศัยกันอยู่ในถ้ำ จนถึงปัจจุบันซึ่งบูกีก็ได้ไปดูพื้นที่ที่ทั้งสองกลุ่มไปสำรวจ ที่หนึ่งมีฝูงสัตว์มากมาย และอีกที่ก็มีแต่ผลไม้ ที่ทั้งสองกลุ่มจะทำถูกแล้ว แต่ต่างคนต่างยึดถือแนวคิดตัวเอง และไม่ได้แลกเปลี่ยนกัน แต่ละกลุ่มก็มั่นใจว่าตัวเองถูกในมุมมองตัวเอง (ซึ่งที่เจ้บปวดก็คือถูกทั้งคู่) และเรื่องก็จบลงตรงนี้
(เนื้อหา และภาพประกอบจะดีกว่าที่ผมเล่าคราวๆมากครับ ผมว่าดีที่สุดในซี่รี่ทั้ง 5 เล่ม อยากให้อ่านมาก)
ผมขอสรุปโดยความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ มันคือที่เรียกเท่ๆ เป็นภาษาอังกฤษว่า "Mental Model" หรือ รูปแบบความคิด ที่มาจากความเชื่อ สภาพแวดล้อม ประสบการณ์ การเลี้ยงดู การศึกษา ซึ่งแต่ละคนจะมีรูปแบบความคิดที่ไม่เหมือนกัน (การพนันจึงเกิดขึ้นเสมอ) ก็เลยต้องมีการเถียงกัน ทะเลาะกัน ตีกัน ทำสงครามกัน ซึ่งรูปแบบความคิดนี้ต้องพึ่ง เรื่องของ Dialogue การสนทนาอย่างเปิดใจ ซึ่งผมเคยเกริ่นในเรื่อง "Listening to the Volcano" ผมว่า Mental Model ก็เหมือน Metal ซึ่งแปลว่า โลหะ ถ้าจะเปลี่ยนรูปร่างมันเราจำเป็นต้องมีเตาหลอม ซึ่งจากประสบการณ์ตรงของผม เตาหลอมผมคือ เหตุการณ์หนึ่งที่ผมกระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง (อย่าอยากรู้เลยครับไม่อยากพูดถึง) และอีกเตาหลอมหนึ่ง คือ หนังสือเล่มนี้ล่ะครับ เพราะฉะนั้นใครอยากได้เตามาหลอม Mental ของตัวเอง ต้องเล่มนี้ครับ
เล่มต่อไปก็ยังคงเป็น 1 ในซี่รี่บริหาร เจอกันเล่มหน้าครับ

วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

หนังสือซี่รี่การบริหาร จัดการ "Listening to the volcano"

ชื่อหนังสือ "Listening to the volcano" สดับเสียงภูเขาไฟ

ผู้เขียน David Hatchens

แนะนำให้ผมอ่านโดยอาจารย์ภิญโญ รัตนาพันธุ์



การสนทนาที่เปิดใจรับความเป็นไปได้ใหม่ๆ (Dialogue)
เป็นการ์ตูนจำลองเหตุการณ์หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ซึ่งหมู่บ้านนี้มีความพิเศษตรงที่คำพูด หรือความคิดของคนในหมู่บ้าน สามารถออกมาให้เห็นเป็นป้ายตัวหนังสือ หมู่บ้านนี้มีปัญหานิดเดียวตรงที่มีภูเขาไฟที่พร้อมจะระเบิดอยู่หลังหมู่บ้าน ผู้คนในหมู่บ้านจึงถกเถียงกันในการแก้ปัญหา ฝั่งหนึ่งอยากให้ปีนขึ้นต้นไม้ อีกฝั่งอยากให้ทำจุกก๊อกยักษ์อุดภูเขาไฟ เถียงกันจนคำพูดที่เป็นป้ายตัวหนังสือเป็นกำแพงกันระหว่างคน 2 ฝั่งก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ แต่ก็เหมือนทุกเรื่องต้องมีตัวเอกมาแก้ปัญหาเสมอ โดยครั้งนี้ตัวเอกเป็นเด็กผู้หญิงที่ไม่ค่อยพูด ส่วนใหญ่จะมีแต่คิด ท่ามกลางการถกเถียงอย่างหนัก ความคิดเหล่านี้หลุดมาเป็นแผ่นไม้ "ทำไมถึงต้องเถียงกัน" "ยังมีวิธีแก้ปัญหาอื่นได้อีกไหม" ทำให้คนที่เถียงกัน หันมาสนใจจนเริ่มที่จะนำความคิดเห็นของแต่ละคน มาแลกเปลี่ยนกัน และนัดกันเพิ่มเติมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เวลาผ่านไปไม่นานภูเขาไฟจำเป็นต้องระเบิด (ไม่งั้นจะมีไว้เป็นชื่อเรื่องทำไม) คนในหมู่บ้านก็เริ่มมาช่วยกันพูด และแลกเปลี่ยนความคิด ซึ่งความคิดและคำพูดมากมายยังไม่มีวิธีไหนสามารถแก้ภัยพิบัตินี้ได้ แต่ยังไงเรื่องนี้ต้องจบ โดยความคิดและคำพูดมากมายของทุกคนรวมตัวกันเป็นสะพานข้ามไปยังอีกทีหนึ่งซึ่งสามารถหลบภัยภูเขาไฟได้ และก็จบ
ผมขอสรุปตามความเข้าใจของผมว่า ป้ายไม้ที่ออกมาจากความคิด และคำพูด ทำให้เห็นภาพได้ว่าคำพูดของเราเป็นมากกว่า "ลมปาก" มันสามารถส่งผลกระทบได้หลายอย่าง ซึ่งถ้าเรานำมาใช้ประโยชน์ในการเปิดหัว รวมความคิดอย่างสร้างสรรค์ โดยไม่มีอคติ (ในความรู้สึกผมน่าจะยากมาก) แต่อย่างน้อยที่สุดเราที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ จะได้รู้ว่ายังมีวิธีดีๆในการแก้ปัญหา และสร้างสรรค์แบบนี้ในโลกด้วย(ทำได้หรือไม่ได้อีกเรื่องครับ) เรื่อง Dialogue นี้เป็นพื้นฐานของการบริหารจัดการ หรือถ้าทำให้เห็นภาพ Dialogue เหมือนการเดินหรือวิ่ง ซึ่งเป็นพื้นฐานกีฬา(การบริหารจัดการ) เพราะฉะนั้นหลายๆองค์กรที่โตอย่างรวดเร็วโดยขาดพื้นฐาน ก็จะอยู่ในสภาวะความเสี่ยง และอาจล่มได้ในอนาคต Dialogue น่าจะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่เข้าใจง่ายแต่ทำได้ยาก(ยากจริงๆครับ ยากแคไหน เดี๋ยวจะได้รู้ในตอน เงาแห่งยุคหิน Shadow of the Neanderthal) ยังไงก็ฝาก Dialogue นี้ให้ทุกคนได้ศึกษา และลองปฏิบัติดูนะครับ 

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

หนังสือซี่รี่บริหารจัดการ"The Lemming Dilemma"

ชื่อหนังสือ "The Lemming Dilemma" สภาวะลำบากของ

หนูเลมมิงจ์

ผู้เขียน David Hutchens

ผู้แนะนำให้ผมอ่านอาจารย์ภิญโญ รัตนาพันธุ์



การใช้ชีวิตอย่างมีจุดประสงค์  และนำอย่างมีวิสัยทัศน์    สู่ความเป็นเลิศส่วนบุคคล (Personal Mastery)
เป็นหนังสือที่เล่าเรื่องผ่านตัวการ์ตูน ตัวละครหลักๆ คือหนูเลมมิงจ์ (ไม่ต้องถามนะครับว่าเป็นสัตว์อะไร เพราะผมก็ไม่รู้เหมือนกัน) และที่หนักเข้าไปอีก คือหนูเลมมิงจ์มีพฤติกรรมที่น่าเลียนแบบมาก คือ ชอบโดดลงจากหน้าผา พฤติกรรมนี้เอง เป็นบ่อเกิดให้ผู้เขียน David นำมาใช้ประโยชน์เพื่อเปรียบเทียบ การใช้ชีวิตแบบไปเรื่อยๆ ตามสภาพสิ่งแวดล้อม และสังคม กับการใช้ชีีวิตแบบมีจุดประสงค์ ซึ่งในเล่มตัวเอกชื่อเอมมี่ ตั้งคำถามว่า"ทำไมต้องหนูเลมมิงจ์ต้องกระโดดลงหน้าผา ถ้าโดดลงไปแล้วจะเป็นอย่างไร ถ้าไม่โดดจะเป็นอย่างไร" ถ้าได้อ่านแล้ว รู้สึกเพลินๆดี และอ้าวจบแล้วหรือ แล้วไหนใช้ชีวิตอย่างมีจุดประสงค์ และนำอย่างมีวิสัยทัศน์ ??? ไอ้คนเขียน blog นี้ มันหลอกให้เสียทั้งเงิน และเวลาแล้ว ไม่ต้องกังวลว่าจะไม่ปวดหัวครับของหนักๆ สาระเต็มมีเพียบในครึ่งหลังของหนังสือ ซึ่งผู้เขียน David น่าจะมีจุดประสงค์ยกตัวอย่าง การ์ตูน เพื่อให้เห็นภาพ และเข้าใจเนื้อหาหนักๆ ได้ดีขึ้น

จุดประสงค์วิสัยทัศน์
"ทำไมฉันจึงดำรงอยู่ ?"  "ฉันต้องการสร้างสรรค์
สิ่งใดบ้าง?"
เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ เร่งให้เกิดการกระทำ 
ให้มีกระบวนการในการ และกระบวนการในการ
ค้นพบ;เผยออกมาเมื่อ จินตนาการคิดประดิษฐ์ 
เวลาผ่านไปและเผย และออกแบบ ;บางสิ่ง
ออกมาเหมือนอาศัยอยู่ ที่คุณเลือกที่จะทำให้
ในชีวิตของคุณเอง เกิดขึ้นจริง
ดำรงอยู่อย่างยาวนาน  มีการเปลี่ยนแปลง;คุณ
อาจจะอยู่คงที่ตลอด มีวิสัยทัศน์หลายอย่าง
ชีวิตส่วนใหญ่ของคุณ ตามประสบการณ์ 
และช่วงอายุของคุณ

ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ สำหรับนักเรียน นักศึกษาอ่านทำความเข้าใจเพื่อปูพื้นความรู้
สำหรับผู้บริหาร และผู้ที่ทำงานมาหลายปีแล้ว นี่คือ 1 ในหนังสือที่ก่อนตาย ขอให้ท่านได้อ่าน
ซึ่งถ้าใครได้อ่านแล้ว และผ่านมาที่ blog นี้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันด้วยนะครับ
แล้วพบกันในหนังสือ เล่มต่อไปยังอยู่ในซี่รี่การ์ตูนเชิงบริหารอยู่นะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แนะนำหนังสือดีๆ พฤติกรรมพยากรณ์ (Predictably Irrational)

ชื่อหนังสือ พฤติกรรมพยากรณ์ (Predictably Irrational)

ผู้เขียน Dan Ariely


หนังสือเล่มนี้เป็นการเปิดมุมมองทีหลายๆคนประสบพบเจอในชีวิตประจำวัน แต่ไม่เคยรู้สึกเลยว่ามีการขายสินค้าโดยใช้การตลาดชักจูงเราอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งผมจะยกบางส่วนของหนังสือมาพูดคุยครับ
ใน บทที่ 1 ว่าด้วยเรื่องของความจริงเกี่ยวกับการเชื่อมโยง อ่านชื่อเรื่องแล้วก็งงๆ แต่ผมจะพยายามอธิบายให้เข้าใจง่ายๆครับ มันมีเนื้อหาเกี่ยวกับตัวล่อ(ไม่ใช่ม้าผสมกับลานะครับ) แต่มันเป็นตัวแสบที่นักการตลาดมาทำให้เราไขว้เขว้ และตัดสินใจในสิ่งที่เค้าต้องการดังตัวอย่างโฆษณานี้ครับ

                           อัตราค่าสมัครสมาชิก
     ยินดีต้อนรับสู่ Grossip.com
     กรุณาเลือกประเภทสมาชิกที่คุณต้องการสมัคร
 O สมาชิกเว็บไซต์ Grossip.com -59 bath
    ได้รับสิทธิ์ในการค้นหาและอ่านบทความออนไลน์
    ของ Grossip.com เป็นเวลา 6 เดือน
 O สมาชิกสิ่งพิมพ์ -125 bath
    ได้นิตยสาร Grossip 12 ฉบับ
 O สมาชิกสิ่งพิมพ์ และเว็บไซต์ -125 bath
    ได้นิตยสาร Grossip 12  ฉบับ และ
    ได้รับสิทธิ์ในการค้นหาและอ่านบทความออนไลน์
    ของ Grossip.com เป็นเวลา 6 เดือน

สมมติว่าเราสนใจการให้บริการนี้ และเราต้องเลือกซื้อบริการนี้คนส่วนใหญ่รวมทั้งผมจะเลือกข้อ 3 เป็นสมาชิกสิ่งพิมพ์ และเว็บไซต์ ซึ่งทางผู้เขียนหนังสือ(Dan Ariely) สงสัยในทางเลือกที่ 2 ว่ามีไว้ทำไมยังไงก็ไม่มีคนเลือก เค้าเลยตั้งสมมติฐานว่าต้องมีอะไรกับทางเลือกนี้แน่ๆ และได้ทำการทดลอง โดยทดลองทำโฆษณาไปให้นักศึกษา 100 คน เลือกซื้อบริการนี้ผลที่ได้คือนักศึกษาเลือก ข้อ 1 16 คน ข้อ 2 0 คน และข้อ 3 84 คน ซึ่งไม่เหนือความคาดหมาย และได้ทดลองอีกครั้งตามสมมติฐาน คือตัดทางเลือกที่ 2 ออก ปรากฎว่านักศึกษา เลือกข้อ 1 ถึง 63 คน เลือกข้อ 3 เพียง 32 คน จากการทดลองสรุปได้ว่าทางเลือก 2 ไม่ได้มีไว้ให้คนเลือก แต่มีไว้ล่อให้เลือกข้อ 3 ซึ่งจะต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ยังมีอีกหลายตัวอย่างในเล่มเกี่ยวกับบทที่ว่าด้วยตัวล่อ (ขออนุญาตเปลี่ยนชื่อบทเลยนะครับ จะได้เข้าใจง่าย) ภายในเล่มซึ่งอ่านแล้วจะทึ่ง และมีประโยชน์ในการนำไปใช้ป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกหลอก หรือนำไปล่อคนอื่นซะเลย ยังมีแถมนิดหน่อยครับ
บทที่ 3 ว่าด้วยเรื่อง ต้นทุนของ"ของฟรี" ต้องอ่านหลายตัวอย่างหน่อยถึงเข้าใจ สรุปตัวอย่างง่ายของอิทธิพลของของฟรี เค้าทดลองให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยมีบัตรส่วนลดซื้อของมูลค่า 200 บาท
ขายในราคา 80 บาท และ บัตรส่วนลดซื้อของมูลค่า 100 บาท แจกฟรี ดูเพลินๆคนควรมีเหตุผลและเลือกบัตร 200 บาท เพราะได้ผลประโยชน์มากว่า 20 บาท แต่ผลการทดลองกลับออกมาว่าคนเลือกบัตรฟรี 100 บาท แบบถล่มถลายซึ่งจากผลการทดลองนี้ ทำให้เราต้องเข้มแข็งเพิ่มขึ้นในของยั่วใจที่ชื่อ ของฟรี หรือเราจะนำไปใช้ในการทำการตลาดก็ได้
บทวิเคราะห์วิจารณ์(ส่วนตัวผมเองนะครับ)
1.รับรองว่า ถ้าซื้อมาอ่านคุ้มทั้งเงิน และเวลา เราจะได้ลุ้นว่าผู้เขียนจะทดลองอะไรเกี่ยวกับพฤติกรรมของคน
2.ทำให้ได้รู้เรื่องที่ใกล้ตัวมากๆ ทำให้จะทำอะไรคิดมากขึ้น
3.บางเรื่อง หรือการทดลองยังไม่ครอบคลุมคนเอเชีย ซึ่งมีวัฒนธรรมที่แตกต่าง ถ้าจะนำไปใช้ประโยชน์จริงๆ เราต้องทดลองเพิ่มเติม
แล้วพบกันใหม่ในหนังสือเล่มถัดไปนะครับ